ใช้กันแดดแล้วเป็นขุย ออกไปลุยแดดได้มั้ย?

       เคยมีประสบการณ์ใช้กันแดดแล้วหน้าเป็นคราบเป็นขุยกันมั้ยคะ หากมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น PHARMAREAD บอกได้เลยว่า แย่แล้ว! เพราะกันแดดที่เราทาไป ไม่มีประสิทธิภาพแล้วค่ะ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงสาเหตุของปัญหาและวิธีการป้องกันแก้ไขเหตุการณ์นี้กันค่ะ

       ก่อนอื่นมาทำความรู้จักรังสี UV จากดวงอาทิตย์กันก่อน UV แบ่งเป็นสามประเภทตามความยาวคลื่น (Wavelength) คือ UVA, UVB และ UVC โดยมีแค่ UVA และ UVB ที่สามารถทำอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์ได้ ส่วน UVC เป็นรังสีที่มีพลังงานสูงที่สุด แต่ส่วนใหญ่จะถูกดูดซับโดยชั้นโอโซนในบรรยากาศ ดังนั้นจึงไม่สามารถเข้าถึงพื้นผิวโลกได้



       ทั้งรังสี UVA และ UVB ส่งผลต่อสุขภาพของผิวหน้า โดยรังสี UVA สามารถทะลุผ่านผิวชั้นนอก (epidermis) และเข้าถึงชั้นผิวหนังแท้ (dermis) ได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายลึกถึงโครงสร้างผิว ทำให้เส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นหนังแท้เสียหาย จะทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย และจุดด่างดำในระยะยาว ส่วนรังสี UVB มีพลังงานสูงกว่ารังสี UVA แต่จะทำร้ายเฉพาะชั้นผิวชั้นนอก หรือ ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) จะทำให้เกิดอาการไหม้แดด และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดการกลายพันธุ์ของ DNA ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งผิวหนังในภายหลังได้ ดังนั้น การใช้กันแดดที่มีคุณภาพดีซึ่งปกป้องทั้งสองประเภทของรังสีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพผิวหน้า

       กันแดดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ตามกลไกการทำงานและส่วนผสมที่ใช้ในการป้องกันรังสี UV

5 สาเหตุที่ทำให้ทากันแดดแล้วเป็นขุย

1.สภาพผิวที่แห้งหรือมันเกินไป

       สภาพผิวที่แห้งเกินไปหรือผิวที่ขาดความชุ่มชื้น มันจะเป็นผิวที่ลอกและเป็นขุย เมื่อทากันแดด ครีมจะไม่สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้และจับตัวกับผิวที่ลอกอยู่แล้ว ส่งผลให้เป็นขุย ส่วนสภาพผิวที่มันเกินไป น้ำมันส่วนเกินที่มากเกินไป จะจับกับกันแดดเป็นคราบ

2. เลือกกันแดดไม่เหมาะกับสภาพผิว

       กันแดดบางตัวอาจไม่เหมาะกับสภาพผิวของคุณ เช่น คนที่มีผิวมันควรเลือกกันแดดเนื้อบางเบา เช่น แบบเจล ในขณะที่คนที่มีผิวแห้งควรเลือกแบบครีม เพื่อให้กันแดดเคลือบผิวได้ดี และออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด นอกจากนี้ ควรเลือกใช้กันแดดที่ไม่เสื่อมสภาพ โดยเก็บรักษากันแดดในที่ที่เหมาะสม เพื่อไม่ทำให้กันแดดเปลี่ยนสภาพ และหมดฤทธิ์ไป และต้องคอยตรวจสอบวันหมดอายุของกันแดดกันด้วยนะคะ 

3. สารเคมีในกันแดดบางชนิดในกันแดด ทำให้เกิดขุย

       การใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมหรือสารเคลือบอื่นๆ ที่ไม่เข้ากันกับกันแดด อาจทำให้เกิดปฏิกิริยากับกันแดด ทำให้เกิดการจับตัวเป็นขุย ส่วนผสมที่ทำให้เกิดคราบ เช่น

ซิลิโคน: สารซิลิโคน เช่น Dimethicone และ Cyclopentasiloxane เป็นส่วนผสมที่พบในกันแดดและสกินแคร์หลายชนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะสมบนผิวและส่งผลให้เกิดคราบเมื่อทาซ้ำหลายๆ รอบ

น้ำมัน: การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสม เช่น Mineral Oil หรือ Oils อื่น ๆ อาจทำให้กันแดดไม่สามารถยึดเกาะกับผิวได้ดี ส่งผลให้เกิดการลอกเป็นขุยหรือคราบ

4. ปริมาณและวิธีการใช้กันแดด

       การทากันแดดในปริมาณมากเกินไปหรือทาไม่ทั่วถึงอาจทำให้เกิดการสะสมของผลิตภัณฑ์บนผิวบางจุด ซึ่งอาจทำให้เกิดคราบได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อถูแรงเกินไป

5. การล้างหน้าไม่สะอาด 

       หากล้างหน้าหรือทำความสะอาดผิวหน้าไม่สะอาด อาจทำให้สิ่งสกปรกหรือเซลล์ผิวที่ตายแล้วยังคงอยู่ ทำให้กันแดดไม่สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้ดี และเมื่อมีการเสียดสี ถูกันแดดกับผิวหน้า ก็อาจทำให้เกิดขุยได้

 

ทากันแดดแล้วเป็นขุย ยังปกป้องผิวได้หรือไม่

       จากที่ได้รู้จักกันแดดทั้ง 3 ประเภท และสาเหตุที่ทำให้ใช้กันแดดแล้วเป็นขุยไปแล้ว จะเห็นได้ว่าการใช้งานกันแดดยังต้องมีการรอให้กันแดดซึมซาบเข้าสู่ผิว และมีระยะเวลารอเพื่อให้กันแดดออกฤทธิ์ ดังนั้นการใช้กันแดดแล้วเป็นขุย จะทำให้กันแดดไม่สามารถซึมซาบเข้าสู่ผิวได้ เป็นการลดประสิทธิภาพของกันแดด ให้ไม่สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจทำให้ผิวได้รับความเสียหายจากรังสี UVA และ UVB ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การที่ใช้กันแดดแล้วเป็นขุยอาจทำให้มีความรู้สึกไม่สบายผิว หรือไม่มั่นใจในระหว่างวัน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ใช้ไม่อยากทากันแดดซ้ำในระหว่างวัน ส่งผลกระทบต่อการปกป้องผิวในระยะยาว ส่วนกันแดดที่เป็นขุยเกาะค้างอยู่บนผิว จะไม่สามารถซึมซาบลงสู่ชั้นผิวหนังได้ อาจทำให้เกิดการสะสมของผลิตภัณฑ์ที่ผิวหนัง ซึ่งอาจนำไปสู่การระคายเคืองหรืออาการแพ้ได้ในบางคน โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวบอบบาง และอาจนำไปสู่การอุดตันของรูขุมขน ซึ่งอาจทำให้เกิดสิวหรือปัญหาผิวอื่น ๆ ตามมา

วิธีแก้ไขปัญหาทากันแดดแล้วเป็นขุย

       การใช้กันแดดแล้วเป็นขุย ส่งผลถึงประสิทธิภาพของกันแดดในการปกป้องผิวจากแสง UV ได้ ดังนั้นเราควรป้องกัน และหาวิธีแก้ไขเพื่อไม่ให้ใช้กันแดดแล้วเป็นขุย โดยเริ่มแรกก่อนการทากันแดด ควรทำความสะอาดผิวหน้า ใช้คลีนซิ่งเพื่อทำความสะอาดเครื่องสำอางและสิ่งสกปรกออกให้หมด จากนั้น บำรุงผิวด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์ หรือเซรั่ม เพิ่มความชุ่มชื้นก่อนทากันแดด เพื่อเตรียมผิวให้พร้อมทั้งสำหรับคนผิวแห้ง และผิวผสม หากผิวมีส่วนที่ลอก จะได้ไม่เกิดขุยหลังใช้กันแดด เลือกกันแดดที่เหมาะสม ควรเลือกกันแดดที่มีเนื้อสัมผัสบางเบาและเหมาะกับสภาพผิว เช่น ครีมสำหรับผิวแห้ง หรือเจลสำหรับผิวมัน ทากันแดดในปริมาณพอเหมาะตามคำแนะนำ และไม่ทาหรือถูแรงเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดคราบหรือขุยได้ นอกจากนี้ตัวกันแดดเองก็มีส่วนสำคัญ ต้องเลือกกันแดดที่ดีที่ไม่ทำให้เกิดผิวเป็นขุย

กันแดดที่ดีและทาแล้วไม่เป็นขุย ต้องเป็นอย่างไร?

  • เนื้อสัมผัส และการซึมเข้าสู่ผิว กันแดดควรมีเนื้อสัมผัสที่ บางเบา และ เกลี่ยง่าย ซึมซาบได้อย่างรวดเร็ว เช่น เนื้อฟลูอิด เนื้อเจล ซึ่งจะช่วยให้ซึมเข้าสู่ผิวได้ดีและไม่รู้สึกหนักหน้า โดยไม่ทิ้งคราบหรือความมันบนผิว ซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการเกิดขุย
  • ส่วนผสมที่ทำให้เกิดคราบ ควรหลีกเลี่ยงกันแดดที่มีส่วนผสมของ ซิลิโคน หรือสารเคมีบางชนิด ที่อาจทำให้เกิดการจับตัวเป็นขุยเมื่อทา
  • สูตรกันน้ำและกันเหงื่อ ครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติกันน้ำและกันเหงื่อจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ไม่หลุดลอกออกจากผิวเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือเหงื่อ ทำให้ลดโอกาสในการเกิดคราบระหว่างวัน
  • ค่า SPF และ PA ควรมีค่า SPF 50+ หรือสูงกว่า ตามกฎ FDA เพื่อปกป้องผิวจากรังสี UVB และค่า PA++++ เพื่อปกป้องผิวจากรังสี UVA อย่างเพียงพอ
  • ส่วนผสมที่ช่วยบำรุงผิว ควรมีสารช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เช่น กลีเซอรีน, กรดไฮยาลูรอนิค, เซราไมด์ หรืออื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งและลดโอกาสการเกิดขุยหลังทา
  • การทดสอบและมาตรฐาน กันแดดที่ดีควรได้รับการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันประสิทธิภาพในการป้องกัน UV ตามมาตรฐานสากล

    จากลักษณะกันแดดที่ดีและทาแล้วไม่เป็นขุย ข้างต้น “กันแดดซีทรู” ของ Pharmular ก็มีคุณสมบัติครบถ้วน กันแดดซีทรู Pharmular See Through Hybrid Sunscreen Serum SPF50+ PA++++ เป็นกันแดดแบบ Hydrid คือมีคุณสมบัติของสารกันแดดทั้งแบบ physical sunscreen และ chemical sunscreen กันแดดได้แบบ broad spectrum คือช่วยทั้งสะท้อนและซึมซับแสง UVA และ UVB โดยใช้สารกันแดดเป็น Micronized Zinc Oxide, Micronized Titanium Dioxide ที่ไม่ทำให้หน้าขาววอก หรือลอกเป็นขุย รวมทั้ง Tinosorb S, Tinosorb M และ Uvinul T150 รวมแล้วสารกันแดดเข้มข้นถึง 31.5% กันแดดซีทรูเป็นเนื้อเซรั่ม ทำให้มีเนื้อสัมผัสที่บางเบา เกลี่ยง่าย ซึมสู่ผิวได้เร็ว และแห้งไว ไม่เหนอะหนะ เมื่อทาแล้วจะเปลี่ยนเป็นแผ่นฟิล์มบางๆเคลือบผิว ช่วยคุมความมันระหว่างวันได้ และยังปกป้องผิวจากมลพิษ เช่น ฝุ่นควันรถ ฝุ่น PM2.5 ได้อีกด้วย เนื่องจากมีสาร pollustop และ เทคโนโลยี ligostem รวมทั้งสารบำรุงผิวอีกหลากหลายชนิด เพิ่มคุณสมบัติ anti-pollution, anti-oxidant, anti-inflammation, anti-aging และ Whitening effect

       จากบทความทั้งหมดคงได้คำตอบกันแล้ว ว่าหากใช้กันแดดแล้วหน้าเป็นขุย ทากันแดดแล้วเป็นคราบ จะไม่สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV ได้ เพราะสารกันแดดจะไม่ซึมเข้าผิว ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการปกป้องรังสี UVA และ UVB แทบจะไม่ต่างจากการไม่ทาครีมกันแดดเลยทีเดียว 

       ก่อนจากกันไป PHARMAREAD ขอฝากเคล็ดลับเพิ่มเติม เป็นวิธีการทากันแดดให้มีประสิทธิภาพสูงสุดไว้ด้วยค่ะ โดยใช้กันแดดประมาณ 2 ข้อนิ้ว เกลี่ยอย่างเบามือทั่วใบหน้า รอประมาณ 15-30 นาที ก่อนออกแดด และทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง แค่นี้กันแดดก็จะมีประสิทธิภาพ สามารถปกป้องผิว ลุยแดดได้ด้วยความมั่นใจค่ะ

 

 

แหล่งอ้างอิง:

  1. Min Ah Kim, Yu Chul Jung, Bae J, Ha J, Kim E. Layering sunscreen with facial makeup enhances its sun protection factor under realuse conditions. Skin Research and Technology. 2021;27(5):751-757. doi:https://doi.org/10.1111/srt.13010 
  2. Weigmann HJ, de Sainte Claire MS, Schanzer S, Patzelt A, Meinke M, Antoniou C, Sterry W, Lademann J. Determination of the protection efficacy and homogeneity of the distribution of sunscreens applied onto skin pre-treated with cosmetic products. Skin Res Technol. 2012 May;18(2):245-50. doi: 10.1111/j.1600-0846.2011.00563.x. 
  3. Weigmann HJ, Schanzer S, Vergou T, Antoniou C, Sterry W, Lademann J. Quantification of the inhomogeneous distribution of topically applied substances by optical spectroscopy: definition of a factor of inhomogeneity. Skin Pharmacol Physiol. 2012;25(3):118-23. doi: 10.1159/000336246.
  4. Gebauer V, Weigmann HJ, Schanzer S, Meinke MC, Vergou T, Sterry W, Lademann J. Influence of skin aging effects on the skin surface profile and the correlated distribution of topically applied sunscreens. J Biophotonics. 2012 Mar;5(3):274-82. doi: 10.1002/jbio.201100104.
  5. Stenberg C, Larkö O. Sunscreen application and its importance for the sun protection factor. Arch Dermatol. 1985 Nov;121(11):1400-2. PMID: 4051527.
  6. Rachel Ho. How to prevent your sunscreen from pilling. 2024 Apr; https://www.drrachelho.com/blog/prevent-sunscreen-pilling/.